ความเป็นมาของปีใหม่ไตย (ไทยใหญ่)
Happy Shan New Year 2111
ใหม่สุง สุขสันต์วันขึ้นปีใหม่ไตย ปีนี้ตรงกับวันพุธ ขึ้น 1 ค่ำเดือนอ้าย (หรือเดือน 1) วันที่ 30 พ.ย. 2559
ความเป็นมาของปีใหม่ไตย
สำหรับความเป็นมาของปีใหม่ของชาว ไทยใหญ่นั้น ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า เนื่องด้วย ชนชาติไต หรือไท เป็นชนชาติที่ใหญ่มากตั้งแต่อดีต โดยมีถิ่นฐานที่อยู่ทั้งในสิบสองปันนาตอน ใต้ของจีน ในรัฐอัสสัมของอินเดีย รัฐฉานในพม่า ประเทศไทย และเวียดนาม
ดังนั้น การจัดงานเริ่นเริงในเทศกาลวันปี ใหม่ของชาวไท หรือไทยใหญ่ได้เริ่มต้นมา พร้อมๆ กับความเป็นชุมชน การเฉลิมฉลองในปีใหม่สมัยก่อนนั้น นิยมนับศักราชเป็นรอบ คือ 60 ปีนับเป็นหนึ่งรอบ โดยมีชื่อ ปีตั้งแต่ปีที่ 1 ถึงปีที่ 60 วิธีเรียกชื่อปีนี้ เรียกว่าแม่ ปี ( 60 ปี = 1 รอบ) เมื่อนับถึงหนึ่งรอบ แล้วก็เริ่มนับใหม่ ทำอย่างนี้มาเป็นเวลานาน
ใน พ.ศ.450 (ก่อน ค.ศ.94) ได้มีการเฉลิม ฉลองปีใหม่พร้อม ๆ กับการฉลองพระไตรปิฏกที่ นำมาจากอินเดีย ณ เมืองหมู่อ้านมาว หรือเรียกว่า เมืองเกงหวี, เมืองหลวงปุ่งไต (ปัจจุบัน-อยู่ใน สิบสองปันนาของจีน) ตั้งแต่ พ.ศ.450 เป็นต้นมา จึงได้มีการนับปีสืบต่อกันมาเรื่อย ๆ โดยไม่เริ่มนับ ใหม่เมื่อถึงกำหนดของการนับศักราชตามแม่ปี
การนับวันเดือนปีของชาวไทยใหญ่นั้น นับ ตามจันทรคติ หรือนับเป็นค่ำ เริ่มต้นวันปีใหม่จึงเริ่ม ต้นที่ขึ้น 1 ค่ำเดือนอ้าย ดังนั้น การจัดงานเฉลิมฉลอง วันปี ใหม่จึงจัดทำในวันขึ้นหนึ่งค่ำของเดือนอ้าย
ส่วนประเพณีนิยมในการจัดงานปีใหม่นี้ มี 3 ช่วง เรียกว่า
1. คอยอ้าย หรือเฝ้ารอเดือนอ้าย หรือเดือน 1 (ใป้เจ๋ง) เป็นการตระเตรียมงานในด้านต่าง ๆ ทั้งของ ชาวบ้านเอง เช่น การทำขนม ทำอาหาร และของคณะ กรรมการจัดงานเพื่อจัดให้มีการเฉลิมฉลอง ในงานเป็น การใหญ่
1. คอยอ้าย หรือเฝ้ารอเดือนอ้าย หรือเดือน 1 (ใป้เจ๋ง) เป็นการตระเตรียมงานในด้านต่าง ๆ ทั้งของ ชาวบ้านเอง เช่น การทำขนม ทำอาหาร และของคณะ กรรมการจัดงานเพื่อจัดให้มีการเฉลิมฉลอง ในงานเป็น การใหญ่
2. รับอ้าย หรือนับเดือนอ้าย (ฮั่บเจ๋ง) เริ่มรับอรุณแห่งเทศกาลการปีใหม่ ด้วยการถวาย สิ่งของแด่พระสงฆ์ ขอขมาท่านผู้ใหญ่ รวมถึงมอบของ ขวัญให้แก่กันและกัน เป็นวันแรม 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเดือนดับ) เรียกว่า วันรับเจ๋ง หรือวันรับต้อนปีใหม่ ซึ่งจะมีพิธีทางศาสนา มีการเตรียมอาหารและขนมต่างๆเพื่อเลี้ยงดูกันในวันปีใหม่ มีพิธีฮอลีก มีการเล่นสนุกสนานตามวัฒนธรรมท้องถิ่น อาจมีการต้อนรับปีใหม่เมื่อย่างเข้าเวลา 1 นาฬิกา หรือหลังเที่ยงคืน
วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน เจ๋ง ซึ่งตรงกับวันปีใหม่ จะมีการถวายและให้ทานข้าวใหม่และขนมต่างๆให้กับญาติพี่น้องบ้านใกล้เรือนเคียง มีการทำบุญเลี้ยงพระ รวมทั้งจัดเลี้ยงอาหารผู้มาร่วมงานในกรณีทำบุญที่วัด มีการละเล่นต่างๆ การแข่งขัน และการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ในระยะหลังอาจนำเอาวันไหว้ครูหมอไตมาจัดรวมกันกับวันปีใหม่ด้วย ซึ่งจะเน้นกิจกรรมบูชาครูหมอไตและการฮอลีกเป็นหลัก ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของท้องถิ่นนั้นๆ เป็นสำคัญ
3. กินอ้าย หรือกินเลี้ยงเดือนอ้าย (กิ๋นเจ๋ง) เป็นช่วงเวลาแห่งการถวายอาหารเช้า-เพลแด่พระ สงฆ์ และรับประทาน อาหารร่วมกัน
4. เล่นอ้าย เล่นในเดือนอ้าย (เล่นเจ๋ง)ซึ่งเป็นเดือนแรกของปี การจัดงานปีใหม่นี้นิยมจัดกันขนาดใหญ่ ใน รัฐฉานจะจัดกันในระดับตำบล อำเภอ หรือในตัวเมือง โดยมีการแสดงต่าง ๆ เป็นที่สนุกสนานมาก
ที่มา: ไทยใหญ่ดอทเนต
ไม่มีความคิดเห็น