Header Ads

Header ADS

มหาวิทยาลัยฮาวาร์ดแนะการสร้างนิสัยแห่งความสุข 20 ประการ กับหลักธรรมพระพุทธศาสนา

มหาวิทยาลัยฮาวาร์ดได้แนะนำ การสร้างนิสัยแห่งความสุข 20 ประการ ปี 2016 ไว้ ซึ่งเผยแพร่ต้นปี 2559 ทางโซเชียล จากการวิเคราะห์พบว่ามีความสอดคล้องกับหลักธรรมพระพุทธศาสนามากมายหลายหลักธรรม 




 1. Be Grateful ..สำนึกบุญคุณคนที่ดีต่อเรา
 2. Choose Your Friends Wisely ..เลือกเพื่อนอย่างชาญฉลาด
 3. Cultivate Compassion  .. ให้ความเห็นอกเห็นใจ แก่คนอื่น
 4. Keep Learning ..หมั่นเรียนรู้
 5. Become a Problem Solver .. เป็นผู้แก้ปัญหาได้
 6. Do What You Love ..ทำในสิ่งที่คุณรัก
 7. Live in the Present ..อยู่กับปัจจุบัน
 8. Laugh often ..หัวเราะบ่อยๆ
 9. Practice Forgiveness ..ฝึกการให้อภัย

 10. Say Thanks often  ..กล่าวขอบคุณเสมอ
 11. Create Deeper Connections  ..สร้างความสัมพันธ์ลึกล้ำ
 12. Keep Your Agreement ..รักษาสัญญา คำพูด 
 13. Meditate ..ทำสมาธิ
 14. Focus on What You're Doing ..ตั้งมั่นในสิ่งที่กำลังทำ
 15. Be Optimistic ..มองโลกในแง่ดี
 16. Love Unconditionally ..รักอย่างไม่มีเงื่อนไข
 17. Don't Give up ..อย่ายอมแพ้
 18. Do Your Best and then Let it Go ..ทำดีที่สุดแล้วอย่ายึดติด
 19. Take Care of Yourself ..ดูแลตัวเอง
 20. Give back to society ..ตอบแทนสังคม

(ที่มา: http://www.stock2morrow.com/discuss/room/1/topic/436)





จากการพิจารณาคร่าวๆ พบว่ามีความสอดคล้องหลักทางพระพุทธศาสนาหลายข้อ และถ้าพิจารณานานกว่านี้มากกว่านี้ น่าจะมีหลักธรรมอื่นๆมาเชื่อมโยงเกี่ยวเกี่ยวข้องมากว่านี้ทีเดียว

1.หลักความกตัญญูกตเวที พื้นฐานของคนดี
2.การรู้จักทิศทั้ง 6  หนึ่งในทิศ 6 คือ การเลือกคบมิตรที่ดี มิตรแท้ 4, มิตรเทียม 4 สอดคล้องกับหลักมงคล 38 ประการในมงคลสูตร ข้อที่ 1 และข้อ 2 เรื่องการเลือกคลแต่บัณฑิต ไม่เลือกคบคบพาล
3. ความมีเมตตา กรุณา ในหลักพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)
4.หลักสิกขากามตา การใคร่ในการศึกษาตลอดเวลา เสขบุคคล ผู้ยังต้องศึกษา ตรงกับหลักสิกขา 3 ข้อศึกษาสำหรับฝึกฝนอบรมตนเอง มี 3 ประการคือ
      (1) อธิสีลสิกขา การศึกษาและปฏิบัติตนในข้อที่เกี่ยวกับศีลทั้งทางกายวาจาใจให้เรียบร้อยดีงาม
      (2) อธิจิตตสิกขา การศึกษาและปฏิบัติตนเกี่ยวกับจิตอบรมให้มีความมั่นคงในสมาธิ
      (3) อธิปัญญาสิกขา การศึกษาและปฏิบัติตนในด้านปัญญา 
5.มีปัญญาพละ กำลังคือปัญญา ในพละ 4 (ปัญญาพละ วิริยพละ สังคหพละ อนวัชชพละ)
6.ฉันทะ ความพึงพอใจในกิจที่ทำ ในหลักอิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา)
7.การเจริญมหาสติปัฎฐาน 4 (กาย เวทนา จิต ธรรม)
8.การมีอารมณ์ขัน เบิกบาน จิตใจผ่องใส มองโลกในแง่ดี
9. การมีเมตตา กรุณา ในหลักพรหมวิหาร 4, หลักทานนมัย การให้อภัยทาน ในบุญกิริยาวัตถุ 10
10.การกล่าวแสดงความยินดี ขอบคุณ ชื่นชมต่อผู้อื่น คือ หลักธรรมมุทิตา พลอยยินดีชื่นชอบ, หลักปัตติทานมัย คือ การยอมรับและยินดีในการทำความดี หรือทำบุญของผู้อื่น การชื่นชมยินดีหรืออนุโมทนาไม่อิจฉาหรือระแวงสงสัยในการกระทำความดีของผู้อื่น (ปัตตานุโมทนามัย)
11.หลักมนุษย์สัมพันธ์ตามหลักสังคหวัตถุ 4 คือ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา
12.การรักษาศีลข้อมุสาวาท ในเบญจศีล, การรักษาสัจจะ สุจริตใน สุจริต 3 คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
13.สมถะ และวิปัสสนากรรมฐาน
14.การมีจิตตะ ตั้งใจมั่นในสิ่งที่ทำ ในหลักอิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา)
15.มองแบบสามัญญลักษณะ 3 คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อมองได้ดังนี้ก็จะทำให้ มองโลกในแง่ดี
16.การมีความเมตตา คือ รักอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ พระพุทธองค์ทรงรักเมตตาพระราหุล กับพระเทวทัต เท่าๆกัน
17.มีความเพียร 4 ประการ ที่เรียกว่า สัมมัปปธาน 4 คือ
      (1) สังวรปธาน คือ เพียรระงับการกระทำอกุศล ไม่ให้เกิดขึ้น ( เพียรระวัง )
      (2) ปหานปธาน คือ เพียรละเลิกอกุศลที่กำลังกระทำอยู่ ( เพียรละ )
      (3) อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษา กุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ( เพียรรักษา )
      (4) ภาวนาปธาน คือ เพียรฝึกฝนบำรุงกุศลธรรม ให้เจริญยิ่งขึ้น ( เพียรเจริญ )
18.การไม่ยึดมั่นถือมั่น การพิจารณาหลักอนัตตา ในสามัญญลักษณะ หรือไตรลักษณ์, "สพฺเพ ธมฺมานาลํ อภินิเวสาย" แปลว่า "สิ่งทั้งปวงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น" นี้เป็นหลักธรรมชั้นสูงขั้นวิปัสสนาในพระพุทธศาสนา, หลักปฏิจจสมุปปบาท
19.กายภาวนา คือ การพัฒนากายภาพ สิ่งแวดล้อมทั้้งหลายทั้้งหมด เช่น สุขภาพกาย และจิตใจ สิ่งแวดล้อมการทำงาน ความปลอดภัย การออกกำลังกาย ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักภาวนา 4 มี 1.กายภาวนา  2.ศีลภาวนา 3.จิตตภาวนา 3.ปัญญาภาวนา
20.การมีจิตสาธารณะ รับใช้สังคม คือ อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์ หนึ่งในหลักสังคหวัตถุ 4 และเป็นจริยาการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ที่เรียกว่าจริยา 3 ของพระพุทธเจ้า คือ โลกัตถจริยา ญาตัตถจริยา และพุทธัตถจริยา


ไม่มีความคิดเห็น

รูปภาพธีมโดย RASimon. ขับเคลื่อนโดย Blogger.