วิถีชีวิตแสนลำบากของ ‘จัณฑาล’ มนุษย์ที่ถูกตราหน้าว่าต่ำชั้นที่สุด ในสังคมวรรณะอินเดีย
วิถีชีวิตแสนลำบากของ ‘จัณฑาล’ มนุษย์ที่ถูกตราหน้าว่าต่ำชั้นที่สุด ในสังคมวรรณะอินเดีย
โลกนี้ยังคงหนีไม่พ้นการแบ่งแยกหรือแบ่งชนชั้น บ้างก็มีแบบเห้นเด่นชัดหรือว่าแบบเชิงนามธรรม แต่ยังมีอยู่ประเทศหนึ่งที่ การแบ่งชนชั้นวรรณะ เป็นสิ่งที่ถูกยอมรับอย่างเปิดเผยมาเป็นเวลานาน
ประชากรชาวอินเดียราว 170 ล้านคน (บางข้อมูลว่าถึง 300 ล้านคน) เกิดมาในกลุ่มที่เรียกว่า อวรรณะหรือ ถูกเรียกว่าจัณฑาล หรือ อธิศูทร และคนกลุ่มวรรณะจัณฑาลคือกลุ่มที่ถูกรังเกียจ และถูกเลือกปฏิบัติมากที่สุดในสังคมอินเดียในขณะนี้
ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูเกี่ยวกับเรื่องวรรณะในอินเดียนั้น วรรณะมี 4 ชั้น คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร โดยมีบทบาทความสำคัญในสังคม ตามลำดับ แต่เมื่อมีการแต่งงานข้ามวรรณะ บุตรที่เกิดมาก็จัดเป็นพวกจัณฑาล คนวรรณะจัณฑาลถูกคนวรรณะอื่นรุมรังเกียจจนถึงกับไม่กล้าจับต้องพวกเขา กลัวว่าจะติดเชื้อโรค นี่เป็นคำสอนกันมาแต่โบราณและยังเชื่อกันในทุกวันนี้
อาชีพของพวกเขาก็คือ กวาดถนน ล้างท่อระบายน้ำ เก็บขยะ เป็นต้น ถ้าจะทำการเกษตรก็ทำได้เพียงเช่าที่เขาทำ ไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดิน ไม่อนุญาตให้ใช้ของบางชนิดซึ่งคนในวรรณะใช้ และจะอาศัยแถวๆ กองขยะหรือตามแหล่งเสื่อมโทรม เมื่อเกิดมาเป็นอธิศูทร ก็ต้องมีชีวิตอยู่อย่างอธิศูทร และตายไปอย่างอธิศูทร ที่สำคัญพวกเขาเองก็ยอมรับว่าพวกตนถูกพระเจ้าสาปให้เกิดมาใช้กรรมใช้เวร เขาจึงเป็นคนที่แตกสลาย ไร้อนาคตอย่างที่เขาเรียกตัวเองว่า ดาลิต
เรื่องระบบชนชั้นวรรณะในอินเดียนั้นถูกฝังรากลึก อยู่ในวัฒนธรรมของชาวอินเดียมาอย่างช้านาน แม้จะมีกฎหมายออกมาห้ามการเลือกปฏิบัติเช่นนี้มากว่า 50 ปีแล้วก็ตาม (ตั้งแต่ปี 2498) แต่ด้วยความเชื่อที่ฝังลึกในเรื่องวรรณะนี้จึงไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย แม้กฏหมายเปลี่ยนไป แต่ความเชื่อของคนยังไม่เปลี่ยนแปลง มีเจตนารมณ์ทางการเมืองที่จะให้ยุติการเลือกปฏิบัติต่อคนจัณฑาล แต่อคติที่มีต่อ
มีโรงเรียนรัฐบาลในอินเดียถึงร้อยละ 38 ซึ่งเด็กจัณฑาลต้องแยกโต๊ะรับประทานอาหารกับเด็กวรรณะอื่น และมีโรงเรียนถึงร้อยละ 20 ซึ่งเด็กจัณฑาลไม่ได้รับอนุญาติให้ดื่มน้ำ ร่วมแหล่งเดียวกับเด็กวรรณะอื่นๆ ถ้าเด็กเหล่านี้ได้เข้าโรงเรียน ก็จะต้องนั่งแถวหลังสุด !
แต่ที่แย่ไปกว่านั้น ก็คือเคยเกิดกรณีครูลงโทษนักเรียนจัณฑาลอย่างรุนแรง ชายผู้หนึ่งกล่าวว่า เขาลาออกจากโรงเรียนเมื่อ 38 ปีก่อน เพราะถูกลงโทษด้วยการตีด้วยขาเก้าอี้ เพียงเพราะจ่ายค่าเล่าเรียนไม่ตรงเวลา ในขณะที่นักเรียนคนอื่น ที่ทำแบบเดียวกับเขา แต่อยู่ต่างวรรณะกัน เพียงแค่ถูกตักเตือนเท่านั้น นอกจากนี้นักเรียนจัณฑาล ยังคงต้องนั่งอยู่หลังห้อง และไม่ได้รับการเหลียวแลจากครูผู้สอน
เขาเล่าต่ออีกว่า ร้านขายของชำในหมู่บ้านในอุตรประเทศ ไม่ยอมรับเงินจากมือโดยตรงของลูกค้าจัณฑาล และอีกหลายหมู่บ้านที่คนจัณฑาลถูกก่อกวนรังควานเมื่อสวมเสื้อผ้าใหม่ บางคนถูกบังคับให้เหน็บกิ่งไม้ไว้ที่หลัง เพื่อให้ช่วยลบรอยเท้าเวลาเดิน หรือแม้จะจัดงานแต่งงาน ก็ยังถูกวรรณะอื่นที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกันกดดันให้เลิก ครูผู้หนึ่งเล่าว่า ครอบครัวของเขาเตรียมจัดงานใหญ่โต แต่ทันทีที่เขาเดินออกจากบ้าน เพื่อไปหาลูกสาว ชาวบ้านบางคนที่อยู่ในวรรณะสูงกว่า ออกมาด่าทอว่า วรรณะจัณฑาลไม่ควรมีพิธีแต่งงานที่เอิกเกริก
แม้คนจัณฑาลยังคงถูกเลือกปฏิบัติอยู่ แต่ก็ยังคงมีการรณรงค์ตามหมู่บ้าน เพื่อให้เด็ก ๆ ได้มีโอกาสเรียนหนังสือ เพื่อให้คนจัณฑาลได้รู้สึกเชื่อมั่นว่าการศึกษา ยังคงเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จ แต่ทุกคนก็เห็นว่ามันยากอยู่ หากคนวรรณะอื่น ๆ ไม่ร่วมมือที่จะมองและปฏิบัติต่อกันให้สมกับที่เขาเป็นมนุษย์เหมือนกัน คนกลุ่มนี้ฝังรากลึก ไม่สามารถทำให้หมดไปได้
ไม่มีความคิดเห็น