Header Ads

Header ADS

๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ วันมงคลคล้ายวันเกิดอายุ ๕๐ ปี พระอาจารย์ ดร.คำหมาย ธัมมสามิ ผู้เป็นครูบาอาจารย์ที่เคารพของเหล่าศิษย์ทั้งมวล


 
https://scontent-lhr8-1.xx.fbcdn.net/v/t31.0-8/s720x720/1410747_424862127667894_6436501205854452951_o.jpg?_nc_cat=101&_nc_sid=32a93c&_nc_ohc=23HLXpT6yssAX_wf59t&_nc_ht=scontent-lhr8-1.xx&_nc_tp=7&oh=8d41d9cf4d819c2f7218cc6e66c16dd9&oe=5E94028E


ศาสตราจารย์ ดร. พระคำหมาย ธัมมสามิ
-ผู้ก่อตั้ง และเจ้าอาวาส วัดพุทธวิหารออกซฟอร์ด เมือง Oxford สหราชอาณาจักร
-อาจารย์ประจำ University of Oxford และอาจารย์พิเศษ SOAS University of London
-ผู้นำก่อตั้งและเลขาธิการ สมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ และสมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาเถรวาท
-อดีต เลขาธิการ จัดงานวันวิสาขบูชาโลก แห่งประเทศไทย  ปี ๒๕๔๙ - ๒๕๕๐, ๒๕๕๒
-ผู้แปล พระนิพนธ์ เรื่อง “จิตนคร” “Mind-City: The Capital of the World”สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


ชาติกำเนิด
ศาสตราจารย์ ดร. พระอาจารย์ คำหมาย ธัมมสามิ เป็นชาวไทใหญ่โดยกำเนิดและท่านเป็นพระสงฆ์รูปที่สอง ของสายเถรวาทที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัย Oxford ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ท่านเป็นพระสงฆ์ที่เปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถทางปริยัติและปฏิบัติและมีประสบการณ์ในการทำงานในองค์กรระหว่างประเทศมาเป็นเวลาหลายสิบปี ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ได้จากผลงานของท่านในการริเริ่มเชิญชวนนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาจากสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ ของโลกมาร่วมกันทำงานเพื่อเผยแพร่คำสอนทางพระพุทธศานาให้แก่ชาวโลก นอกจากนั้นท่านยังได้เป็นผู้นำในการจัดตั้ง องค์กรมหาวิทยาลัยทางพุทธศาสนา โดยได้เชิญชวนผู้บริหารระดับสูงของ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย สถาบันการศึกษา ชาวพุทธชาติต่าง ๆ ทั่วโลก มาร่วมกันจัดตั้งเป็นสมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ  จนเป็นผลสำเร็จ ในนาม “สมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ” “The International Association of Buddhist Universities” และ” สมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาเถรวาท”  “The Association of Theravada Buddhist Universities”เป็นต้น

ในสายตาของชาวตะวันตกนั้น ไม่ได้มองท่านเพียงแค่ว่าเป็นพระสงฆ์ที่มีความรู้ความสามรถทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดีเท่านั้น แต่ท่านยังมีความรู้ความเข้าใจในความคิดและวัฒนธรรมของชาวตะวันตกเป็นอย่างดีและท่านรู้จักใช้ภาษาในการสื่อสารกับชาวตะวันตกเข้าใจได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสนทนาในเรื่องต่าง ๆ หรือ ในการทำงานร่วมกันท่านก็จะให้ความเป็นกันเอง ซึ่งเป็นที่ชื่นชมของชาวตะวันตกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นท่านจึงเป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างชาวพุทธในตะวันตกและตันวันออกได้ดีเยี่ยมส่วนนักวิชาการชาวตะวันตก มองท่านว่าเป็นพระสงฆ์ที่มีความตื่นตัวต้องการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และถึงแม้ว่าท่านจะเป็นพระนักวิชาการฝ่ายเถรวาทก็ตาม แต่ท่านเปิดใจก้วางต่อทุกคนทุกนิกาย ชาวพุทธสายมหายานหรือวชิรยานก็มีความเคารพท่านเพราะท่านใจก้วางและเป็นกันเอง

ส่วนชาวพุทธในเอเชียมองท่านว่า เป็นพระสงฆ์ที่ทำหน้าที่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในตะวันตก สอนเยาวชนและนักศึกษาเข้าใจได้ง่ายและเป็นผู้สอนวิปัสสนาขั้นพื้นฐานให้เข้าใจง่ายและสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวันและเป็นพระสงฆ์ที่จบการศึกษาสูงจากมหาวิทยาลัยระดับโลกและได้รับการยอมรับจากชาวตะวันตกจนได้เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยชั้นนำต่าง ๆ ทั้งในยุโรปและอเมริกาส่วนพี่น้องชาวไทใหญ่มองท่านว่า เป็นพระสงฆ์ที่เป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นขวัญกำลังใจของคนในชาติและเป็นผู้บุกเบิกเปิดทางให้พระสงฆ์และเยาวชนชาวไทใหญ่ ได้มีโอกาสได้ไปศึกษาต่อที่ ประเทศศรีลังกา ไทย อินเดีย อังกฤษและอเมริกา มีความกตัญญูต่อบิดามารดาครูบาอาจารย์ และเป็นักวิชาการที่ได้รับการยอมรับจากชาวพุทธทั่วโลก

ท่านเกิดเมื่อ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๗ ณ เมืองลายค่า รัฐฉาน(รัฐไทยใหญ่) สหภาพพม่า ได้บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่ยังวัยเยาว์ ที่วัดศรีมังคลเมืองลายค่า รัฐฉานเมื่อ ๒๕๑๘และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาที่วัดเวจยะนันทา เมืองหม่อละแหม่ง รัฐมอญ สหภาพพม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ และได้รับตันหิกรรมจาก สมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคมและแม่กองธรรมสนามหลวง ผู้ช่วยเจ้าอาวส และผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส วัดบวรนิเวศวิหาร ณ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก กรุงเทพฯ ด้วยความกรุณา พระเด็จพระคุณ พระธรรมบัณฑิต เจ้าอาวาสเป็นผู้ดำเนินการการศึกษาศึกษาขั้นพื้นฐานที่บ้านเกิด แล้วได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ สถาบันการศึกษาพระปริยัติธรรม  ชั้นสูงของคณะสงฆ์ไทใหญ่ ที่เมืองปางโหลง ซึ่งเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาวไทใหญ่ เพราะเป็นสถานที่ ในการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างชนกลุ่มต่าง ๆ ในสหพันธุ์รัฐฉานร่วมกับพม่าที่เรียกกันว่า  “สนธิสัญญาเวียงปางโหลง ค.ศ. 1947” ต่อมาจึงได้กลายมาเป็น “สหภาพพม่า” ที่รู้จักกันในปัจจุบัน 

-พ.ศ. ๒๕๒๘ สำเร็จการศึกษา ชั้นธรรมาจริยะ(ขณะเป็นสามเณร) เทียบเท่าปริญญาตรี พุทธศาสตร์บัณฑิต ที่ Sasana Mandaing Pali University, เมือง Pegu (เมืองหงษ์สาวดี) รัฐมอญ และชั้นธรรมาจาริยะ ภาคภาษาไทใหญ่ ที่สถาบันการศึกษาชั้นสูง ของคณะสงฆ์ไทใหญ่ ที่ เมืองปางโหลงในปีเดียวกัน
-พ.ศ. ๒๕๓๕  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาพุทธศาสตร์ ที่ Buddhist and Pali University of Sri Lanka, กรุง Colombo ประเทศศรีลังกา 
-พ.ศ. ๒๕๓๖ สำเร็จการศึกษา ปริญญาโทใบที่สองในสาขาเดียวกันจากPostgraduate Institute of Pali and Buddhist studies, University of  Kelaniya ประเทศศรีลังกา
-พ.ศ. ๒๕๓๙  สำเร็จการศึกษาระดับ MPhil จาก Postgraduate Institute of Pali and Buddhist studies, University of Kelaniya, Sri Lanka ประเทศศรีลังกา
-พ.ศ. ๒๕๒๗ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก (DPhil) จาก St. Anne’s College, University of Oxford สหราชอาณาจักรโดยมีท่านศาสตราจารย์Richard Gombrich นักวิชาการทางด้านพระพุทธศาสนาและภาษาสันสกฤตระดับแนวหน้าของโลก เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา


ตำแหน่งปัจจุบัน
-ผู้ก่อตั้งวัดและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดพุทธวิหารออกซฟอร์ด เลขที่ 356-358 Abingdon Road, Oxford, OX1 4TQ (2003
–ปัจจุบัน)กรรมการ ศูนย์ศึกษาพระพุทธ ศาสนามหาวิทยาลัย Oxford หรือ “Oxford Center for Buddhist Studies” ของมหาวิทยาลัย Oxford(2006– ปัจจุบัน)
-กรรมการ The Oxfordshire Standing Advisory Council for Religious Education, SACRE (2006- จนถึงปัจจุบัน)
-ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัย International Theravada Buddhist Missionary University กรุงย่างกุ้ง สหภาพพม่า (2005 - จนถึงปัจจุบัน)
-ผู้นำก่อตั้งและดำรงตำแหน่งเลขาธิการ “สมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ” (The International Association of Buddhist Universities) (2007 - จนถึงปัจจุบัน) (www.iabu.org) ซึ่งตั้งสำนักงานเลขานุการอยู่ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
-ผู้นำก่อตั้งและดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ “สมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาเถรวาท” ( The Association of Theravada Buddhist Universities)(2007 - จนถึงปัจจุบัน) (www.atbu.org ) ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ที่เลขานุการอยู่ที่ มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศ กรุงเทพฯ
-นักวิจัย Center for Buddhist Studies, School of Oriental and African Studies (SOAS) University of London (2008-2010)
-ผู้บรรยายพิเศษและผู้อำนวยการ Postgraduate Programme for Buddhist Studies, Maha Pragna Buddhist College ประเทศอินโดนีเชีย (2008 -ปัจจุบัน) -เป็นมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งแรกที่เปิดสอนระดับปริญญาโท
-กรรมการ Oxford Mindfulness Centre คณะจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัย Oxford (2008- ปัจจุบัน)
-OMC (ทำการวิจัยโดยการใช้สมาธิเป็นฐานทางจิตวิทยาเพื่อบำบัดโรค)
-MBCT (การใช้สมาธิในทางพุทธศาสนารักษาผู้ป่วยเป็นโรคเครียดซึมเซา)กรรมการและอาจารย์ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา ออกซฟอร์ด มหาวิทยาลัย ออกซฟอร์ด (Oxford Center for Buddhist studies)UK (2009 – ปัจจุบัน)
-นักวิจัยประจำ Common room ของ Wolfson College มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (2009 – จนถึงปัจจุบัน) 
-กรรมการดำเนินการจัดงาน Interna -tional Council for United Nations Day of Vesak (2009 -2010)


ประสบการณ์ในระดับนานาชาติ
-พ.ศ. ๒๕๒๘ – ๒๕๒๙  เป็นอาจารย์สอน วิชาภาษาบาลี และ อภิธรรม ที่ Sasana Mandaing Pali University, Pegu เมืองหงสาวดี รัฐมอญสหภาพพม่า
-พ.ศ.๒๕๓๕ – ๒๕๔๙ เป็นอาจารย์สอน วิชาพระสูตรต่าง ๆ ภาคภาษาอังกฤษ ให้กลุ่มนักเรียนที่ YMBA, Borella ประเทศศรีลังกา
-พ.ศ.๒๕๔๙ – ๒๕๔๔ เป็นอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และอาจารย์สอนสมาธิ ที่ Sri Saddhatissa International Buddhist Center กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
-พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเลขาธิการจัดงานฉลอง“วันวิสาขบูชาโลก” ที่กรุงเทพฯ ซึ่งรับผิดชอบในการติดต่อประสานงานนักวิชาการและผู้นำทางพุทธศาสนาทั่วโลก ในนามของคณะสงฆ์ไทยภายใต้การนำของมหาเถรสมาคม โดยได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐบาลไทย
-พ.ศ. ๒๕๔๙ – ปัจจุบัน  เป็นกรรมการ ศูนย์ศึกษาพุทธศาสนามหาวิทยาลัย Oxford หรือ “Oxford Center for Buddhist Studies” ของมหาวิทยาลัย Oxford
-พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นผู้รับผิดชอบในด้านการวิจัย การจัดพิพม์ตำราภาษาบาลีและกิจกรรมระหว่าประเทศของ  International Theravada Buddhist Missionary University

-พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๒๕๕๐, ๒๕๕๒ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการ จัดงานฉลอง “วันวิสาขบูชาโลก” ที่กรุงเทพฯในนามของคณะสงฆ์ไทยภายใต้การนำของมหาเถรสมาคม โดยได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐบาลไทย

-พ.ศ. ๒๕๔๙ – ปัจจุบัน:  เป็นผู้ร่วมโครงการผลิตตำรา ทางพระพุทธศาสนาเพื่อแจกให้แก่โรงแรมต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งเป็นครงการของ United Nation Day of Vesak

-พ.ศ. ๒๕๕๐  ทำการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับ สถาบันการศึกษาชั้นสูงทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ ในโลก ให้เป็นที่รู้จักของมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย ๑๐ วิทยาลัยทางพุทธศาสนา ในประเทศอินโดนีเชีย มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาปูตาเบส (Budapest Buddhist University) กรุงปูตาเบส ซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐบาล ประเทศฮังการี ในยุโรปกลาง มหาวิทยาลัยกลางธิเบต (Central Tibetan University) ที่เมือง สารนาถ ประเทศอินเดีย และวิทยาลัยพุทธศาสนาอีกหลายแห่ง ในประเทศจีน

-พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๑ ได้รับคำแนะนำจาก ท่านพระครูบาบุญชุ่ม ญาณสมฺปณฺโณ ผู้เป็นที่เคารพและศรัทธาของชาวพุทธชาติต่าง ๆ ให้ท่านช่วยดำเนินการสร้างวัดที่พุทธคายา ประเทศอินเดีย จนสำเร็จลุล่วง 

-พ.ศ. ๒๕๕๐ – ปัจจุบัน: เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษ พระแสงเฮือง นารินโท นักศึกษาปริญญาเอก Peradeniya University ประเทศศรีลังกา หัวข้อวิทยานิพนธ์ เรื่อง “Shan Buddhism” โดยมี S.G Somarate เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

-พ.ศ. ๒๕๕๐  หลังจากได้ทำการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาชั้นสูงทางพระพุทธศาสนาใน ปี ๒๕๔๙ แล้ว ในฐานะ เลขาธิการ สภาจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ขององค์การสหประชาชาติ  จึงได้เชิญสถาบันการศึกษาทางพระพุทธศาสนา ที่เป็นมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย รวมจำนวน ๗๐ แห่ง จาก ๒๒ ชาติ มาร่วมประชุมกันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ทางพุทธศาสนาและได้ตกลงกันจัดตั้งเป็น “สมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ” (The International Association of Buddhist Universities) IABUwww.iabu.org เป็นผลสำเร็จโดยมี ท่าน ดร. พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ได้รับเลือกเป็นประธานเพื่อเป็นผู้นำองค์กรแห่งนี้สืบไป และปัจจุบันสำนักงานเลขานุการขององค์กรนี้ ตั้งอยู่ที่ มหาวิยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาฯ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสทรงมีพระชนมพรรษาครบรอบ ๘๐ พรรษาและเพื่อเป็นการรำลึกถึงการเสด็จปรินิพพานครบ ๒๕๕๐ ปี” ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๐ นั้น ในฐานะเลขาธิการ สภาจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ขององค์การสหประชาชาติ จึงได้เชิญชวน มหาวิทยาลัยพุทธศาสนา ทางของรัฐบาลและคณะสงฆ์ในสหภาพพม่า ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ สายเถรวาท โดยได้เชิญ วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาสายเถรวาท จำนวน ๒๐ แห่งจากจำนวน ๑๐ ชาติ ได้มาร่วมประชุมกันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาเช่นกัน และในที่ประชุมครั้งนี้ได้มีการตกลงกันจัดตั้ง สถาบันการศึกษาชั้นสูงสายเถรวาทขึ้นมาในนาม “สมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาเถรวาท “ The Association of Theravada Buddhist Universities” ATBU www.atbu.org  จนเป็นผลสำเร็จ และหลังจากองค์กรทั้งสองแห่งได้ก่อตั้งขึ้นมา ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ เพื่อให้มีการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างสถาบันการศึกษาชั้นสูงของสายมหายานและเถรวาท ตลอดจนถึงมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาทั่วโลก


-พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นผู้บรรยายพิเศษ เรื่อง“Introduction to research: efficient reading and effective writing in research” ที่ Nalanda University) รัฐพิหารประเทศอินเดีย 

-พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นผู้ร่วมดำเนินการ จัดงานประชุมทางวิชาการ ในหัวข้อ “Shan Buddhism and Culture”ร่วมกับ ดร. Kate Crosby ที่ SOAS University of London ซึ่งเป็นการนำเสนอเรื่องพระพุทธ ศาสนาและวัฒนธรรมแบบไทยใหญ่เข้าสู่ระดับนานาชาติเป็นครั้งแรก ซึ่งผลงานทางวิชาการบางเรื่องได้ตีพิมพ์โดย Rout-ledgeในวารสารชื่อ Journal of Contemporary Buddhism 2009

-พ.ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๑ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  พระบารมีและ พระอาจาระ นักศึกษาปริญญาเอก ของ International Theravada Buddhist Missionary University ของรัฐบาล ในหัวข้อวิทยานิพนธ์ เรื่อง พิธีการปฏิบัติในการถาวยกฐินขอเถรวาท และ พิธีการอุปสมบทในพม่า (Theravada Kathina practice and Ordination practice)

-พ.ศ. ๒๕๕๑ พฤษภาคม เป็นรองประธานจัดงานฉลอง “วันวิสาขบูชาโลก” ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยการอุปถัมภ์ของรัฐบาลเวียดนาม

-พ.ศ. ๒๕๕๑ กันยายน เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดประชุมทางวิชาการ และการจัดการประชุมสุดยอดครั้งแรกของ สมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ (The International Association of Buddhist Universities, IABU) โดยการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการ ที่กรุงเทพฯ

-พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๒ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ นักศึกษาปริญญาโท ร่วมกับศาสตราจารย์ ดร. พระธรรมโกศาจารย์อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในหัวข้อวิทยานิพนธ์ เรื่อง “The influence of Buddhism on Indonesian culture” เสนอโดย พระอุปเสโน นักศึกษาชาวอินโดนิเชีย และหัวข้อเรื่อง “Buddhist Mind Philosophy” เสนอโดย S. Barua พระนักศึกษาชาวบังกลาเทศ ที่ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

-พ.ศ. ๒๕๕๑  เป็นผู้บรรยาพิเศษ “เรื่องเทคนิคการใช้ภาษาอังกฤษ ในการเขียนและการอ่าน สำหรับการทำวิจัยทางวิชาการ ให้แก่นักศึกที่ทำการวิจัยทางวิชาการ ที่ IMAP มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

-พ.ศ. ๒๕๕๒ มีนาคม เป็นผู้ดำเนินการ จัดงานประชุมทางวิชาการ เรื่อง  Theravada Buddhism: origin, identity and development ที่สถาบัน Sitagu International Buddhist Academy, Sagaing, สหภาพพม่า  ของสมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งในการประชุมทางวิชาการครั้งนี้ ได้ใช้ภาษาบาลีเป็นทางการในการจัดสัมนาระดับนานาชาติเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของชาวพุทธ โดยมีผู้เข้าร่วมเสนอผลงานทางวิชาการเป็นภาษาบาลีจำนวน ๑๖ เรื่องจากจำนวน ๗ ประเทศ และผลงานทางวิชาการครั้งนี้ได้จัดพิพม์ไว้เป็นหลักฐาน โดย มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัยกรุงเทพฯ และ Situgu International Buddhist Academy, Sagaing จัดพิมพ์ถวาย

-พ.ศ. ๒๕๕๒ มีนาคม – เมษายน ได้เป็นประธานร่วมจัดการประชุมวิสามัญครบองค์ครั้งที่สองของ World Buddhist Forum, ที่เมืองวูซี สาธรณรัฐประชาชนจีน

-พ.ศ. ๒๕๕๒  เป็นผู้ช่วยดำเนิน การขออนุมัติ เปิดหลักสูตร วิชาพระพุทธศาสนาระดับปริญญาโท ของ Maha Pragna Buddhist College กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเชีย จากรัฐบาล จนเป็นผลสำเร็จ เนื่องจากตามกฏหมายของรัฐบาล ต้องมีผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอก และปริญญาโท ตามจำนวนที่กำหนดเอาไว้ จึงจะดำเนินการเปิดสอนได้ ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการภาควิชานี้จนถึงบัจจุบัน

-พ.ศ. ๒๕๕๒ พฤษภาคม ได้ทำพิธีเปิดวัดใหม่ ซึ่งเป็นสาขาแรกของวัดพุทธวิหารออกซฟอร์ด ที่ประเทศสิงคโปร์

-พ.ศ. ๒๕๕๒ กันยายน – ปัจจุบัน:  เป็นอาจารย์สอนวิชาพระพุทธศาสนา ภาควิชาศาสนศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัย Oxford

-พ.ศ. ๒๕๕๒ ตุลาคม เป็นผู้ร่วมดำเนินการจัดงานประชุมทางวิชาการโดยใช้ภาษาบาลีเป็นหลักในการเสนอผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นการจัดครั้งแรกในประเทศไทย ร่วมกับ พระอาจารย์ ดร. อนิล สุขนฺโธ รองเลขานุการ สำนักงานเลขานุการ สมเด็จพระสังฆราช เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในวันประสูติครบรอบ ๖๙ พรรษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชซี่งได้มีนักวิชาการทางด้านภาษาบาลีเข้าร่วมเสนอผลงานวิชาการครั้งนี้ร่วม ๓๖ เรื่องจาก ๖ ประเทศ โดยท่านเป็นผู้ดำเนินการสัมมนาในครั้งนี้

-พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา พระ K. Dhammatinna นักศึกษาปริญญาเอก Kelaniya University ประเทศศรีลังกาหัวข้อวิทยานิพนธ์ เรื่อง “Suvanabhumi and Malaysai”ผลงานทางด้านการแปลไทยเป็นอังกฤษ “ เรื่องจิตนคร” (Mind-City: the Capital of the world) ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ พระนิพนธ์ขณะดำรงสมณะศักดิ์เป็น พระศาสนโสภณ พิมพ์ที่ รวมธรรม กรุงเทพฯ 2009 บาลี เป็นภาษาไทยใหญ่ แปลพระสูตร “สูตฺต นิปาต” จัดพิมพ์ในวารสารประจำปีของ “ Ceylon Journey” ปี (ค.ศ. 2007-2008) โดยกลุ่มพระนักศึกษาไทยใหญ่ที่กำลังศึกษาอยู่ที่กรุงโคลัมโป ประเทศศรีลังกา พิมพ์ที่โรงพิมพ์ เอ กรุงย่างกุ้ง บรรณธิการ


-พ.ศ. ๒๕๔๙ - ปัจจุบัน: กองบรรณธิการประจำ Journal“Buddhist Studies Review” ของสมาคมศึกษาพระพุทธศาสนาแห่งสหราชอาณาจักร“United Kingdom Association of Buddhist Studies” (UKABS) สหราชอาณาจักร

-พ.ศ. ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน: บรรณาธิการ ประจำวารสาร สมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาเถรวาท (The Association of Theravada Buddhist Universities, ATBU) โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ

-พ.ศ. ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน: บรรณาธิการ ประจำวารสาร สมาคมม หาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (The International Association of Buddhist Universities, IABU) โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ

-พ.ศ. ๒๕๔๓ – ปัจจุบัน: บรรณาธิการ ประจำหนังสือรายปี “Ceylon Journey” ของ องค์กรนักศึกษาพระสงฆ์ไทยใหญ่ ที่กำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศศรีลังกาผลงานทางวิชาการ

-พ.ศ. ๒๕๔๕ ธันวาคม  เสนอผลงานทางวิชการ เรื่อง “ The Sangha in Burma and Thailand 1826 – 1880: A review of factors Leading to the emergence of contemporary nikayas” ที่ประชุมทางวิชการครั้งที่ 13 สมาคมศึกษาพระพุทธศาสนานานาชาติ (IABS) ที่มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ ประเทศไทย

-พ.ศ. ๒๕๔๖ มีนาคม  เสนอผลงานทางวิชาการ เรื่อง “ Ecclesiastical Examinations: Their origin and impact on the Sangha in Burma and Thailand” ที่สมาคมเอเชียศึกษา (USA) New York สหรัฐอเมริกา

-พ.ศ. ๒๕๔๖ พฤษภาคม  เสนอผลงานทางวิชาการ เรื่อง “Secularising the Monasteries: The Role of Formal Examinations in Ecclesiastical Pedagogy in Burma and Thailand” ที่ประชุมทางวิชาการ Sanskrit Tradition in the Modern World Conference ที่ Newcastle University สหราชอาณาจักร

-พ.ศ. ๒๕๔๖ กรกฏาคม  เสนอผลงานทางวิชาการ เรื่อง “Swimming against the Tide: A brief introduction to the life and thought of two leading monastic education-nists in Burma and Thailand” ที่ประชุมทางวิชาการประจำปี สมาคมศึกษาพระพุทธศานาแห่ง สหราชอาณาจักร (The UK Association of Buddhist Studies, UKABS) ที่ SOAS, University of London สหราชอาณาจักร

-พ.ศ. ๒๕๔๗ พฤษภาคม  เสนอผลงานทางวิชาการ เรื่อง “Idealism and Pragmatism: A Dilemma in the Current Monastic Education Systems of Burma and Thailand” ที่ Conference on Burmese Buddhism and the Spirit Cult Revisited ที่ Stanford University ประเทศสหรัฐ อเมริกา

-พ.ศ. ๒๕๔๘ กรกฏาคม  เสนอผลงานทางวิชาการ เรื่อง “ The Shan Buddhist literature: A Preliminary Study of its Source” ที่ประชุมทางวิชาการ สมาคมศึกษาพระพุทธศาสนานานาชาติ (International Association of Buddhist Studies Conference) ที่ มหาวิทยาลัย SOAS, University of London 

-พ.ศ. ๒๕๕๐ เมษายน  เสนอผลงานทางวิชาการ เรื่อง “ Seeing myself as another person; The autobiography of a Burmese monastic thinker of the 20th century” ที่ประชุมทางวิชาการ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (The Oxford Center for Buddhist Studies)ที่ Balliol College, Oxford University 

-พ.ศ. ๒๕๕๐ กรกฏาคม  เสนอผลงานทางวิชาการ เรื่อง “ Opportunities and challenges in Buddhist institutions of higher education in the world” ที่ประชุมประจำปีของ สมาคมศึกษาพุทธศาสนาแห่งสหราชอาณาจักร (United Kingdom of Association for Buddhist Studies) ที่ St. Anne’s College, Oxford University 

-พ.ศ ๒๕๕๐ ธันวาคม  เสนอผลงานทางวิชาการ เรื่อง “Growing but as a sideline: An overview of modern Shan monastic education” ในการประชุมทางวิชาการพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทใหญ่ (Shan Buddhism and Culture Conference) ที่มหาวิทยาลัย SOAS, University of London สหราชอาณาจักร

-พ.ศ. ๒๕๕๑ กุมภาพันธ์ เสนอผลงานทางวิชาการ เรื่อง “ The uncomfor-table relationship between the Sangha and the State in Myanmar in the 17th to 19th Centuries) ที่ Somaiya Centre for Buddhist Studies, University of Mumbai ประเทศอินเดีย

-พ.ศ. ๒๕๕๒ กันยายน เสนอผลงานเรื่อง Ciita-nagaram lokassa rajadhani เป็นภาษาบาลีในการประชุมทางวิชาการ เนื่องในโอกาสงานเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ ๙๖ พรรษาของ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย


งานวิชาการที่ได้จัดพิมพ์
-พ.ศ. ๒๕๔๒ เรื่อง “ The Dhamma Made Easy” จัดพิมพ์โดย Penang, Inward Path Publication (Available online) 
-พ.ศ. ๒๕๔๒ เรื่อง “ Mindfulness Meditation Made Easy” จัดพิมพ์โดย Penang, Inward Path Publication จำนวนสี่ครั้งและได้แปลเป็นภาษาเกาหลี และภาษาไทย (Available online)
-พ.ศ. ๒๕๔๓ เรื่อง “ Different Aspects of Mindfulness. จัดพิมพ์โดย Penang Inward Path Publication (Available online)
-พ.ศ. ๒๕๔๖  เรื่อง “Can Buddhist be a wealthy man” ใน Sharp Journal for School Teachers of Religions in the UK
-พ.ศ. ๒๕๔๘  เรื่อง “ Buddhism in Britain” ใน 2005 United Nations Day of Vesak International Conference Volume.โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ 
-พ.ศ. ๒๕๕๐ เรื่อง “ Internationalisation and Revival: Theravada Buddhist universities in the past twenty-five years” ใน The Silver Jubilee Journal of Buddhist and Pali University of Sri Lanka, Colombo
-พ.ศ. ๒๕๕๐ เรื่อง “ Idealism and Pragmatism: A Dilemma in the Current Monastic Education Systems of Burma and Thailand” ในหนังสือBuddhism, Power and Political Order,Ian Harris เป็นบรรณาธิการจัดพิมพ์โดย Routledge, London
-๒๕๕๑  เรื่อง “ The Impact of Political Instability on the Education of the Sangha in 17th Century Siam” ใน วารสาร Journal of The International Association of Buddhist Universities, บรรณาธิการ, Khammai Dhammasami จัดพิมพ์โดย โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ 
-พ.ศ. ๒๕๕๒  เรื่อง “Swimming against the Tide: A glance at the life of two most influential educationist monk  in the 20th century Myanmar and Thailand” ในThe Journal of  The Association of Theravada Buddhist Universities” บรรณาธิการ Khammai Dhammasami. จัดพิมพ์โดยโรงพิมพ์ มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ 
-พ.ศ. ๒๕๕๒ เรื่อง “Growing but as a sideline: An Overview of modern Shan monastic education” in Contemporary Buddhism Vol. 1 No. 1, eds. Andrew Skiltons, Kate Crosby.จัดพิมพ์โดย Routledge, London, UK
-พ.ศ. ๒๕๕๒ เรื่อง “ Seeing myself as another person: The autobiography of  a Burmese monastic thinker of the 20th Century ” Lives Lived – Lives Imagined: Biography in the Buddhist Traditions, ed Ulrike Roesler: จัดพิพม์โดย Wisdom Publications, Boston, USA 
-พ.ศ. ๒๕๕๓ เรื่อง “Idealism and Pragmatism: A Study of Monastic Education in Burma and Thailand from the 17th Century to the Present” ซึ่งเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอกซึ่งจะจัดพิพม์โดย Wisdom Publications, Boston, USA
-พ.ศ. ๒๕๕๓  เรื่อง “The Apheggusara – dipani – tika” วิทยานิพนธ์MPhillจะจัดพิพม์โดย Joural Pali Tax Societyนอกจากนั้น ท่านยังได้เขียนบทความภาษาไทใหญ่ในเรื่องต่าง ๆ ตั้งแต่อายุ ๑๗ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเฉลียในแต่ละปีจะมีบทความไม่ต่ำกว่า ๔ เรื่องสอนสมาธิในประเทศต่าง ๆ 
-พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๓ เป็นอาจารย์สอนสมาธิประจำที่ The Sri Saddhatissa International Buddhist Center, Kingsbury, London (สอนทุกวันอังคาร และวันพุธ)
-พ.ศ. ๒๕๔๑ เมษายน ได้รับนิมนต์ไปสอนสมาธิที่ Samatha Trust Medtaion Center แคว้น Wales สหราชอาณาจักร (รวม ๕ วัน)
-พ.ศ. ๒๕๔๑ มีนาคม ได้รับนิมนต์ไปสอนสมาธิที่ Sir Lankaramaya. St. Michael’s Road ประเทศสิงคโปร์ (รวมแปดวัน)
-พ.ศ. ๒๕๔๑ มีนาคม ได้รับนิมนต์ไปสอนสมาธิที่บ้าน Dr Leo K. Thinnเมือง Birmingham สหราชอาณาจักร (รวมแปดวัน)
-พ.ศ. ๒๕๔๒ พฤษภาคม ได้รับนิมนต์ไปสอนสมาธิที่Vipassa Center, Cameroon Highlandsประเทศมาเลียเชีย (รวมสิบวัน)
-พ.ศ. ๒๕๔๒ พฤษภาคม ได้รับนิมนต์ไปสอนสมาธิที่ วัดจีน Ava Road, Off Balestier Road ประเทศสิงคโปร์ (รวมสิบวัน)
-พ.ศ. ๒๕๔๒ พฤษภาคม ได้รับนิมต์ไปสอนสมาธิที่ กรุง Ottawa ประเทศเคนดา (รวมเจ็ดวัน)
-พ.ศ. ๒๕๔๓ กรกฏาคม – สิงหาคม ได้รับนิมนต์ไปสอนสมาธิ ที่ Redbridge Buddhist Cultural Center, East London (ทุกวันศุกร์และอาทิตย์)
-พ.ศ. ๒๕๔๕ ธันวาคม ได้รับนิมนต์ไปสอนสมาธิที่ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัย ที่ กรุงโชล ประเทศเกาหลีใต้ (รวม หกวัน)
-พ.ศ. ๒๕๔๖ มีนาคม ได้รับนิมนต์ไปสอนสมาธิที่ Burmese Vihara ที่Chicago และ Phoenix ประเทศสหรัฐอเมริกา (ในวันสุดสัปดาห์)
-พ.ศ. ๒๕๔๗ – ปัจจุบัน เปิดสอนสมาธิให้นักศึกษามหาวิทยาลัย Oxford ที่วัดพุทธวิหาร Oxford ทุกวันศุกร์
-พ.ศ. ๒๕๔๗ กุมภาพันธ์ ได้รับนิมนต์ไปสอนสมาธิ ที่ Trinity College, University of Cambridge ซึ่งจัดโดย Cambridge University Buddhist Society (หนึ่งวัน)
-พ.ศ. ๒๕๕๐ สิงหาคม ได้รับนิมนต์ไปสอนสมาธิ ที่สมาคมวิปัสสนาชาวฮังการี กรุงปูตาเบส ประเทศฮังการี (รวมเจ็ดวัน)
-พ.ศ. ๒๕๕๑ ตุลาคม ได้รับนิมนต์ไปสอนสมาธิที่ สมาคมวิปัสสนาชาวฮังการี กรุงปูตาเบส ประเทศฮังการี (Hungarian Vipassana Association, Budapest, Hungary) (รวมสองอาทิตย์)
-พ.ศ. ๒๕๕๒ พฤศาจิกายน ได้รับนิมนต์สอนสมาธิที่ ยุวพุทธิกสมาคม แห่งประเทศไทย ที่ 54 ถนนเพชรเกษม กรุงเทพฯ (รวมเจ็ดวัน)

ไม่มีความคิดเห็น

รูปภาพธีมโดย RASimon. ขับเคลื่อนโดย Blogger.