โหลดไฟล์ อ่านหนังสือ "รู้จัก พระไตรปิฏก ให้ชัด ให้ตรง" (กรณีพระคึกฤทธิ์)
ไฟล์ อ่านหนังสือ "รู้จัก พระไตรปิฏก ให้ชัด ให้ตรง" (กรณีพระคึกฤทธิ์)
http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/know_the_pali_canon_clearly_and_correctly.pdf
(มิได้มีการจารึกพุทธวจนะไว้บนเสาหินและแผ่นศิลาของพระเจ้าอโศกแต่อย่างใด)พระเจ้าอโศกมหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๘ - ๒๖๐; นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันมักว่า พ.ศ. ๒๗๐ - ๓๑๒) เมื่อพิชิตแคว้นกลิงคะได้ในปีที่ ๘ แห่งรัชกาล ทรงสลดพระทัยต่อความทุกข์ยากของประชาชน และหันมานับถือพระพุทธศาสนา ประกาศละเลิกสังคามวิชัย หันมาดำเนินนโยบายธรรมวิชัย บำรุงความสุขและศีลธรรมของประชาชน อุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ รวมทั้งอุปถัมภ์สังคายนาครั้งที่ ๓ และส่งพระศาสนทูต ๙ สาย ไปประกาศพระศาสนาในแดนห่างไกล
เริ่มแต่เมื่ออภิเษกได้ ๑๒ พรรษา พระเจ้าอโศกมหาราชได้โปรดให้ทำศิลาจารึก เขียนสลัก "ธรรมลิปิ" (ลายสือธรรม คือข้อความที่เขียนไว้เพื่อสอนธรรม) กระจายไปทั่วจักรวรรดิอันไพศาล เท่าที่พบ ๒๘ ฉบับ แต่ละฉบับมักจารึกไว้ในที่หลายแห่ง
ความในธรรมลิปิ ซึ่งจารึกไว้ที่เสาศิลา หินผานั้น บอกพระราชจริยาวัตร พระราชกรณียกิจ พระราชประสงค์ของพระองค์ที่มีต่อประชาชน หลักธรรมที่ทรงแนะนำสั่งสอนประชาชนและข้าราชการ การจัดบริการสาธารณประโยชน์ต่างๆ
จารึกบนเสาหินแผ่นศิลาเหล่านี้ แม้ว่าจะมุ่งจริงจังในการสั่งสอนธรรมแก่ประชาชนและข้าราชการ แต่มิได้มีการจารึกพุทธวจนะไว้บนเสาหินและแผ่นศิลาเหล่านั้นแต่อย่างใด
จะต้องเข้าใจสภาพความเป็นจริงว่า จักรวรรดิของพระเจ้าอโศกนั้นกว้างใหญ่ไพศาลกว่าประเทศอินเดียปัจจุบันมาก แม้ว่าทางใต้จะไม่ตลอดทั้งหมด แต่ทางตะวันออกตั้งแต่บังกลาเทศ ขึ้นไปตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงอัฟกานิสถาน
ในดินแดนกว้างใหญ่นี้มีราษฎรหลายเผ่าพันธุ์หลายภาษา จารึกศิลาหรือจารึกหินของพระเจ้าอโศกนั้น แต่ละฉบับแต่ละเรื่องต้องไปจารึกไว้ต่างแห่งต่างที่ (บางฉบับขุดค้นพบแล้วถึง ๑๒ แห่ง ที่ยังไม่พบ ก็คงมี) จารึกก็ต้องใช้ภาษาถิ่น เป็นปรากฤตแขนงต่างๆบ้าง ภาษากรีกบ้าง อาเรเมียนบ้าง และอักษรหรือตัวหนังสือก็ต้องเปลี่ยนใช้ตามถิ่นด้วย ที่มากคืออักษรพราหมี รองลงไปคือขโรษฐี
ภาษาของพระไตรปิฎกที่รักษาพุทธพจน์นั้น ลงตัวเป็นภาษาบาลีแบบแผนแล้วตั้งแต่สังคายนาครั้งแรก ๓ เดือนหลังพุทธปรินิพพาน และพระสงฆ์ต้องสาธยายเป็นประจำสม่ำเสมอตรงกันทั่วทั้งหมด มิใช่จะใช้สื่อแก่ประชาชนสมัยหลังครั้งอโศก ในถิ่นแดนที่มีภาษาถิ่นของตนๆ ทั้งปรากฤต กรีก อาเรเมียน อันหลากหลายรวมความว่า ภาษาในจารึกอโศก ไม่ใช่ภาษาบาลีที่จารึกรักษาพระไตรปิฎก (และพระไตรปิฎกก็ไม่ใช้ภาษาถิ่นภาษาชาวบ้าน ที่ใช้ในจารึกอโศก) ต้องแยกเป็นคนละเรื่องกัน
ที่มา: รู้จักพระไตรปิฎก ให้ชัด ให้ตรง หน้าที่ ๗๖ - ๗๗
โดย .. พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต
http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/know_the_pali_canon_clearly_and_correctly.pdf
(มิได้มีการจารึกพุทธวจนะไว้บนเสาหินและแผ่นศิลาของพระเจ้าอโศกแต่อย่างใด)พระเจ้าอโศกมหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๘ - ๒๖๐; นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันมักว่า พ.ศ. ๒๗๐ - ๓๑๒) เมื่อพิชิตแคว้นกลิงคะได้ในปีที่ ๘ แห่งรัชกาล ทรงสลดพระทัยต่อความทุกข์ยากของประชาชน และหันมานับถือพระพุทธศาสนา ประกาศละเลิกสังคามวิชัย หันมาดำเนินนโยบายธรรมวิชัย บำรุงความสุขและศีลธรรมของประชาชน อุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ รวมทั้งอุปถัมภ์สังคายนาครั้งที่ ๓ และส่งพระศาสนทูต ๙ สาย ไปประกาศพระศาสนาในแดนห่างไกล
เริ่มแต่เมื่ออภิเษกได้ ๑๒ พรรษา พระเจ้าอโศกมหาราชได้โปรดให้ทำศิลาจารึก เขียนสลัก "ธรรมลิปิ" (ลายสือธรรม คือข้อความที่เขียนไว้เพื่อสอนธรรม) กระจายไปทั่วจักรวรรดิอันไพศาล เท่าที่พบ ๒๘ ฉบับ แต่ละฉบับมักจารึกไว้ในที่หลายแห่ง
ความในธรรมลิปิ ซึ่งจารึกไว้ที่เสาศิลา หินผานั้น บอกพระราชจริยาวัตร พระราชกรณียกิจ พระราชประสงค์ของพระองค์ที่มีต่อประชาชน หลักธรรมที่ทรงแนะนำสั่งสอนประชาชนและข้าราชการ การจัดบริการสาธารณประโยชน์ต่างๆ
จารึกบนเสาหินแผ่นศิลาเหล่านี้ แม้ว่าจะมุ่งจริงจังในการสั่งสอนธรรมแก่ประชาชนและข้าราชการ แต่มิได้มีการจารึกพุทธวจนะไว้บนเสาหินและแผ่นศิลาเหล่านั้นแต่อย่างใด
จะต้องเข้าใจสภาพความเป็นจริงว่า จักรวรรดิของพระเจ้าอโศกนั้นกว้างใหญ่ไพศาลกว่าประเทศอินเดียปัจจุบันมาก แม้ว่าทางใต้จะไม่ตลอดทั้งหมด แต่ทางตะวันออกตั้งแต่บังกลาเทศ ขึ้นไปตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงอัฟกานิสถาน
ในดินแดนกว้างใหญ่นี้มีราษฎรหลายเผ่าพันธุ์หลายภาษา จารึกศิลาหรือจารึกหินของพระเจ้าอโศกนั้น แต่ละฉบับแต่ละเรื่องต้องไปจารึกไว้ต่างแห่งต่างที่ (บางฉบับขุดค้นพบแล้วถึง ๑๒ แห่ง ที่ยังไม่พบ ก็คงมี) จารึกก็ต้องใช้ภาษาถิ่น เป็นปรากฤตแขนงต่างๆบ้าง ภาษากรีกบ้าง อาเรเมียนบ้าง และอักษรหรือตัวหนังสือก็ต้องเปลี่ยนใช้ตามถิ่นด้วย ที่มากคืออักษรพราหมี รองลงไปคือขโรษฐี
ภาษาของพระไตรปิฎกที่รักษาพุทธพจน์นั้น ลงตัวเป็นภาษาบาลีแบบแผนแล้วตั้งแต่สังคายนาครั้งแรก ๓ เดือนหลังพุทธปรินิพพาน และพระสงฆ์ต้องสาธยายเป็นประจำสม่ำเสมอตรงกันทั่วทั้งหมด มิใช่จะใช้สื่อแก่ประชาชนสมัยหลังครั้งอโศก ในถิ่นแดนที่มีภาษาถิ่นของตนๆ ทั้งปรากฤต กรีก อาเรเมียน อันหลากหลายรวมความว่า ภาษาในจารึกอโศก ไม่ใช่ภาษาบาลีที่จารึกรักษาพระไตรปิฎก (และพระไตรปิฎกก็ไม่ใช้ภาษาถิ่นภาษาชาวบ้าน ที่ใช้ในจารึกอโศก) ต้องแยกเป็นคนละเรื่องกัน
ที่มา: รู้จักพระไตรปิฎก ให้ชัด ให้ตรง หน้าที่ ๗๖ - ๗๗
โดย .. พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต
ไม่มีความคิดเห็น